วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

about arts-español :3



 เรียนอะไรบ้าง ?

สายนี้เรียนสเปนกัน 6 คาบ : 1 สัปดาห์ เป็น
 ♥ 5 คาบ - เรียนกับ อ. เทียมจันทร์ สังขพันธานนท์ - พึ่งบรรจุใหม่ จบหมาดๆ จาก อักษรฯ ฬ เอกสเปน อาจารย์เป็นศิษย์เก่าเตรียม รุ่น 65 ฟรองเซ่
♥ 1 คาบ - เรียนกับ Myriam Rueda - มาจากเมืองบาเซโลน่า ประเทศสเปนเลยทีเดียว :3

เพราะสายพี่มีแค่ 25 คน กับฟรองเซ่ลดเด็กสอบจากปีก่อนๆ 90 เหลือ 65 (25 ที่ตัดอกมานั่นก็คือสเปนน่ะแหละ) ทำให้พวกพี่เลยต้องรวมห้องกะฝรั่งเศสอีกประมาณ 20 คน ซึ่งเราก็รักกันมากกกกกกกกก พูดได้เลยว่าสเปน = ฝรั่งเศส นั่นแหละ สายหัสเราก็ป้าๆ พี่ๆ ยายๆ ฝรั่งเศสทั้งนั้น

การเรียนเราเรียนด้วยกันในวิชาสามัญ ปกติ ทั้งหลายน่ะ เช่น เลข วิทย์ อังกฤษ ฯลฯ               
แต่พอถึงคาบสเปน - ฝรั่งเศส ก็แยกกันเรียน พอจบคาบก็มาเรียนด้วยกันต่อ


ภาษาสเปนยากไหม?
 
ภาษาสเปนเป็นภาษาที่พี่คิดว่ามันอ่านง่ายมากแล้วในภาษาแถบยุโรป แกรมม่า ก็ ...เอ่อ
ถ้าน้องทบทวน ตั้งใจเรียน ไม่ยากหรอก
ข้อสอบซัม ไฟนอล ก็ยากนะ (ก็มันเตรียมหนิ) แต่คะแนนพวกพี่ก็ไม่มีใครแย่เลย เก่งทุกคนว่างั้น5555555555555
_____________________________________

เมื่อน้องเข้ามา น้องก็จะพบกับหลายๆ อย่าที่น่าตื่นตาตื่นใจ
พี่สายที่สวย หล่อ(?) หน้าตาดีกันทุกคน บ้าบอคอแตก สังคมยุคใหม่แรงประมาณนั้น
แต่พวกพี่ทุกคนรักน้องๆ ที่กำลังจะมาเป็นน้องสายน้าา♥ จุ้บจุ้บส์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=121659&start=20 นะคะ :-)

why we must choose French :-D

                                 10 เหตุผลที่ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส



ภาษา ต่างประเทศล้วนเป็นสิ่งมีคุณค่าในตัวภาษาเอง ส่วนที่ว่าเรียนแล้วจะใช้สื่อสารได้แค่ไหนคงต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความมุ่งมั่น การฝึกฝนจนชำนาญของผู้เรียน
และนี่คือ 10 เหตุผลที่ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส

1. ภาษา สนทนาแห่งโลก ผู้คนจำนวนมากว่า 200 ล้านคนใน 5 ทวีปสนทนาโดยใช้ภาษาฝรั่งเศส ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั้ง 68 ประเทศและรัฐบาลต่างรวมกลุ่มกัน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางรองมาจากภาษา อังกฤษและเป็นภาษาที่มีการใช้ในการสนทนามากเป็นลำดับที่ 9 ของโลก
2. ภาษา เพื่อการสรรหาอาชีพ การสนทนาภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติโดดเด่นทุกหนทุกแห่งสำหรับ โอกาสในการหาอาชีพในตลาดอาชีพสากล ทั้งในประเทศฝรั่งเศสเองหรือประเทศอื่นที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และทวีปแอฟริกา) ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศในลำดับที่ 5 ของโลกที่มีอำนาจในทางพาณิชย์และเป็นประเทศในลำดับที่ 3 ในการต้อนรับนักลงทุนชาวต่างชาติ

3. ภาษาแห่งวัฒนธรรม ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาสากลสำหรับเรื่องอาหาร แฟชั่น ภาพยนตร์ ศิลปะ เต้นรำ และการออกแบบ การรู้จักภาษาฝรั่งเศสสามารถเข้าถึงในการเข้าใจต้นแบบของวรรณกรรมฝรั่งเศส รวมทั้ง ภาพยนตร์ บทเพลง และวรรณกรรมของประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ผลงานของ Victor Hugo, Molière, Edith Piaf, Sartre หรือ นักฟุตบอลอย่าง Zinedine Zidane…

4. ภาษาเพื่อการเดินทาง ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากกว่า 70 ล้านคนต่อปี และสถานที่ที่น่าเยี่ยมชม คือ ปารีส และ ทุกแคว้นของประเทศฝรั่งเศส ความรู้ในภาษาฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้เข้าใจวัฒนธรรม ความคิด และวิถีชีวิตของคนฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ดียิ่งขึ้น

5. ภาษาเพื่อการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ความรู้ ความเข้าใจภาษาฝรั่งเศส จะสามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง สถาบันการศึกษาชั้นสูง ชั้นนำระดับโลกในฝรั่งเศสได้ ในระดับ มหาวิทยาลัยนี้ รัฐบาลยังมีทุนการศึกษาหลายทุนสำหรับนักเรียนที่เรียนดีอีกด้วย

6. ภาษาเพื่อความสัมพันธ์นานาชาติ ภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาแห่งโอกาสในการทำงาน และภาษาทางการของสหประชาชาติ สหภาพ ยุโรป ยูเนสโก้ องค์การนาโต้สภาโอลิมปิกสากล ฯลฯ ภาษาใน 3 เมืองสำคัญของยุโรป Strasbourg , Bruxelles และ Luxembourg

7. ภาษา สำหรับการเปิดโลกทัศน์ นอก จากอังกฤษและภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ 3 ในอินเตอร์เน็ต การเข้าใจในภาษาฝรั่งเศส สามารถเข้าใจในโลกการสื่อสารกับต่างประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั่วทุกทวีป และการรู้ข่าวสาร ระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

8. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีวิธีมากมายที่จะสนุกกับการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว

9. การ เข้าใจภาษาฝรั่งเศสช่วยในการเข้าใจภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาที่มีรากศัพท์มาจาภาษาละติน 50% ของคำศัพท์ภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีส่วนคล้ายกับภาษาฝรั่งเศส

10. ภาษา แห่งความรักและจิตวิญญาณ การเข้าใจภาษาฝรั่งเศสเป็นความสุขในการเข้าใจภาษาที่สวยงาม ไพเราะ ซึ่งถูก เรียกว่าเป็นภาษาแห่งความรัก ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาแห่งการวิเคราะห์ ที่มีโครงสร้างให้เกิดความคิด พิจารณา วิพากษ์วิจารณ์ และสามารถใช้ในการ ปรึกษา เจรจา และการต่อรอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dektriam.net/Francais/ นะคะ:D 

why we must choose Spanish :-)



ทำไมต้องเลือก "ภาษาสเปน" :-)



♥ ภาษาสเปนใช้มากเป็นอันดับสองของโลก พูดกันทั่วทั้งทวีปอเมริกากลาง - ใต้ ถ้าน้องคนไหนไปตกตระกรรมลำบากอยู่แถบอะเมซอน ป่าดงดิบ น้องก็สามารถใช้ภาษานี้ช่วยชีวิตตัวน้องและผองเพื่อนได้นะ! ***มีบราซิลที่ใช้โปรตุเกส ไม่ใช่สเปน

♥ ภาษาสเปนมีคนเรียนมาก ทั่วโลกา เฉพาะพี่เบิ้มเมกา แต่ละโรงเรียนก็มีภาษานี้ให้ลงเรียนเป้นวิชาเลือก ไม่เชื่อลองถามเพื่อนที่ไปแลกเปลี่ยนแล้วกลับมาดูสิ

♥ ภาษาสเปนสามารถต่อยอดไปยังภาษาอื่นๆ ในกลุ่มภาษา Romance คือ พวกที่มีรากละตินทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศส, อิตาเลี่ยน, โปรตุเกส โรมาเนี่ยน หรือแม้แต่ภาษาอังกฤษเองก็ตาม ว่ากันว่า ถ้ารู้ภาษาใดภาษาหนึ่งในกลุ่มนี้ จะสามารถคุยกะคนที่พูดอีกภาษานึงในกลุ่มเดียวกันรู้เรื่อง เช่น คนอิตาเลี่ยนมาคุยกะคนสเปนก็รู้เรื่องกันดีนะ หรือคนสเปนมาคุยกะคนโปรตุเกสนี่ยิ่งเข้าใจกันง่ายใหญ่ เพราะเป็นเพื่อนบ้านกันนะ 2 ประเทศนี้

♥ ภาษาสเปนพบมากในสื่อต่างๆ อ่าาา น้องรู้จัก Enrique Iglesias พ่อหนุ่มสเปนตาคมล่ำบึ้กเสียงดี, Penelope Cruz สาวสเปนหน้าคม สวยสุดๆ รู้จักกันไหมล่ะ นี่แค่นิดเดียวนะ ไหนจะเพลงต่างๆ เพลงที่เราได้ยินกันคุ้นหู พวก Hero/Irreplaceable/Un-Break my heart แม้แต่เพลงดังอย่าง Lucky ก็มีการเอามาร้องใหม่เป็นภาษาสเปน โดยนักร้องออริจินัลนั่นแหละ เป็นคนร้อง หนังอีก โอ้ย เยอะแยะ ปิดตึกสยองขวัญไรงี้ มันมากๆ

♥ คนไทยมีน้อยมาก ที่รู้ภาษาสเปน ลำพังมหาวิทยาลัยที่สอนภาษานี้ก็มีแค่ 5 แห่ง
ที่เป็นวิชาเอกด้วยก็มี จุฬาฯ, ม.ขอนแก่น, ม. ราม
ที่มีแค่วิชาโท ม.ธ., ม.ช.
แล้วคิดดูดิ ว่ามีสอนแค่นี้ในไทย (ไม่รวมเตรียมฯ กะคนที่ไปแลกเปลี่ยนมานะ) จะมีสักกี่คนที่รู้ภาษาสเปน พูดภาษาสเปนได้ดี สื่อสารได้เยี่ยม คิดต่อไปอีกว่า เมื่อจำนวนคนรู้น้อย มันก็ทำให้เราเป็นจุดเด่นที่ใครต่างก็อยากเอาไปทำงาน (คิดเข้าข้างตัวเองสุดๆ ฮ่าๆๆ) อืมม อย่างเท่าที่ฟังมาจากพี่ๆ อักษรฯ จุฬาฯ เอกสเปน ตอน ปี 3 ปี 4 ก็มีฝึกงาน แล้วสถานทูตที่ใช้ภาษาสเปนต่างๆ เขาก็จะส่งหนังสือมาเรียกตัวนิสิตไปช่วยงาน ถ้าใครทำงานถูกตา ต้องใจเขาขึ้นมาล่ะก็ หึหึ...

♥ คณะที่จะสามารถแอ็ดฯ เข้าได้ ก็มีตามคณะที่ชาวศิลป์ชอบเข้าน่ะแหละ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ วารสารศาตร์ ฯลฯ
****ถ้าน้องคนไหนจะต่อ อักษรฯ จุฬาฯ เอกสเปน ตอนปีสองที่เริ่มเรียนแต่ละเอกที่เลือก พวกเรา สเปนจาก ต.อ. ทั้ง 25 คนจะสามารถข้ามไปเรียนสเปน 3 - 4 -..... ขึ้นไปได้เรื่อยๆ เลย พูดคือเราไม่ต้องปูพื้นใหม่แล้ว ต่อไปได้เลย แล้วหน่วยกิตที่ว่างก็ไปหาวิชาเลือกอื่นๆ ลง (มั้ง)

♥ รบ. สเปน มีทุนให้เปล่าแก่บุคคลทั่วไป/นิสิต นักศึกษาที่สนใจในประเทศ ภาษาและวัฒนธรรมของสเปน โดยอยู่ในความคิดที่ว่า ถ้าได้ทุนไปเรียนต่อแล้ว จะสามารถนำอะไรกลับมาพัฒนาประเทศของตนได้บ้าง ทุนมีทั้ง ตรี โท เอก (เห็นส่วนใหญ่ก็ไปโทกัน) ถ้าจบโทมาแล้วจากที่นั่น อยากเป็น อ. จุฬาฯ ก็เป็นได้! เพราะตอนนี้ที่คณะ ครูขาด ไม่เพียงพอมากๆๆ

♥ อาชีพ ..ก็จบคณะไหนก็เป็นอาชีพเเนวนั้นอ่ะ 55555+ มันเป็นได้ตามแนวเด็กศิลป์หมดล่ะ
ล่าม ทูต คนแปลเอกสาร บลา บลา บลา
****เคยมีเพื่อนพี่เขาเอาเอกสารไปแปลเป็นภาษาสเปน จะไปแลกเปลี่นไง ยี่สิบหรือสิบกว่าหน้านี่แหละ หมดเป็นหมื่น!!! เงินดีไหมล่ะ คิกคิก

♥ การสอบเข้า ที่รู้ว่าไม่มี PA7.7 ภาษาสเปนกัน เพราะตอนนี้"เขา"บอกว่า มันไม่คุ้มถ้าจะทำมาตอนนี้ เพราะทำมาก็ไม่มีใครสอบ จึงจะทำรุ่นพี่รุ่นแรก แต่เขาก็ว่าอีกอะนะ ว่ามันก็ยังไม่คุ้ม สอบ 25 คน

การฉลองแชมป์ฟุตบอลยูโร ปี 2012 ของประเทศสเปน
 

อย่างที่ทุกคนได้รู้ สเปนขึ้นชื่อเรื่องฟุตบอลอยู่แล้ว ซึ่งในปีนี้ฟุตบอลยูโร 2012 สเปนก็ได้แชมป์ไปอย่างสมศักดิ์ศรี บางทีน้องๆที่อยากเข้าศิลป์สเปนอาจจะชอบดูบอลรึเปล่านะอิอิ

การเต้น salsa


การเต้นซัลซ่าเป็นหนึ่งในจังหวะการเต้นสไตล์ลา ติน ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศคิวบา โดยทั่วไปซัลซ่าแบ่งสไตล์การเต้นออกเป็น 2 สไตล์ คือแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจะไม่เน้นลีลา แต่เน้นที่ท่วงท่าเซ็กซี่ และแบบคิวบา ซึ่งมีท่าเต้นนับร้อยๆ ท่า นอกจากนี้ยังมีซัลซ่าสไตล์เปอร์โตริโกอีกด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ไหนโดยพื้นฐานแล้วจะไม่ค่อยแตกต่างกันในเรื่องจังหวะ และดนตรี แต่จะต่างกันที่สเต็ปการเต้น ซัลซ่าเป็นการเต้นที่เซ็กซี่ จังหวะของดนตรีและกลองจะสนุกสนานและเร้าใจมากกว่าการเต้นแบบอื่นๆ ผู้เต้นจะเน้นการใช้ body movement สื่อถึงความสง่างาม และดึงความเซ็กซี่ในตัวออกมา ที่แยกคลาสซัลซ่าถูกแยกออกมาจากคลาสลาตินอาจเป็นเพราะซัลซ่าเป็นจังหวะที่ เต้นง่ายที่สุด ลักษณะการขยับเท้ามีแค่ก้าวหน้า-ก้าวหลัง จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มเต้นใหม่ๆ”

ซึ่งในวิดีโอนี้เป็นวิดีโอจากรายการ so you think you can dance เป็นรายการที่ดังระดับโลก ทำให้เรารู้ว่าการเต้น salsa ก็เป็นการเต้นที่กระจายไปทั่วไปโลกเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=121659&start=20 นะคะ :-) 

about arts-français :3

ศิลป์-ฝรั่งเศส

วิดิโอแนะนำสายศิลป์-ฝรั่งเศสค่ะ :D 

แน่นอนครับ พี่รู้ว่าน้องๆเข้ามาอ่านนี้เพื่อหาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายภาษา-ฝรั่งเศสใช่ไหมหละครับ วันนี้พี่เองก็จะแนะนำสายที่มีประวัติอันเก่าแก่ที่พวกพี่ภาคภูมิใจให้ น้องๆได้ชมกันนะครับ
.:: พี่ๆขอแนะนำสายของเราก่อน สายนี้มีอายุทั้งหมด 76 ปี งง ใช่ไหมหละครับ โรงเรียนเพิ่งที่จะ 75 ปี แต่ทำไมถึงมีอายุ 76 ปี คือ สายนี้ได้เปิดสอนก่อนการก่อตั้งโรงเรียนประมาณ 6 เดือนได้นะครับ (น่าจะ6เดือนนะ ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ก่อนก่อตั้งโรงเรียนแน่ๆ) สายนี้จึงเป็นสายที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน
.:: สีประจำสาย - จนถึงบัดนี้พี่เองก็ยังไม่รู้ว่าสีอะไรกันแน่ บ้างก็บอกบานเย็น บ้างก็ยึดตามสีธงชาติ ต้องรอรุ่นพี่ที่จบไปมาบอกนะครับเดี๋ยวถ้ารู้แล้วจะมาแก้ใหม่ครับ-
.:: สายนี้ก็เป็นสายคอนแวนต์เช่นกันเหมือนๆกับสายศิลป์-ภาษาอื่นๆ เพราะผู้ชายส่วนใหญ่้ จะไปสอบสายวิทย์กันหมด สายของเรามีผู้ชายเฉลี่ยห้องละ 9 คนครับ อาจจะเยอะกว่าบางสายอ่ะครับ เรื่องกลายพันธุ์ก็อาจจะกลายตอนม.5 นะครับ (บางคนนะอาจจะเพิ่งค้นพบตัวเอง 555)
.:: สายของเรา ณ ปัจจุบัน(2552) ม.4 มีทั้งหมด 2 ห้องครึ่ง [ห้องนึงเรียนรวมกับสเปน 25 คนไง ห้องนี้ก็เริ่ดมาก ห้องเดียว 2 สาย]
.:: สายของเราดังเรื่องกิจกรรม !!
การสอบเข้า
สำหรับสายภาษานั้น จะสอบเหมือนกันหมดครับ โดยจะแบ่งการสอบ เป็น 2 ฉบับคือ
ฉบับที่ 1 : ภาษาไทย 25 ข้อ - สังคม 25 ข้อ และ ภาษาอังกฤษ 50 ข้อ
ฉบับที่ 2 : ภาษาไทย 50 ข้อ และ ภาษาอังกฤษ 50 ข้อ
นั่นหมายความว่า มีจำนวนข้อสอบ ภาษาอังกฤษ มากที่สุดคือ 100 ข้อ รองลงมา คือ ภาษาไทย 75 ข้อ และ สังคม 25 ข้อ


การแนะนำการอ่าน
น้องๆควรเริ่มเตรียมตัว อ่านหนังสือกันตั้งแต่ช่วงปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 นะครับ อย่างช้าสุดในการเตรียมตัวก็ไม่น่าจะ 1 เดือนก่อนสอบนะครับ
  • สำหรับวิชา ภาษาอังกฤษ ในส่วนฉบับที่ 1 จะเน้นไวยากรณ์ แกรมม่า และศัพท์ เป็นอย่างมาก และฉบับที่ 2 จะเป็น Reading เสียส่วนมาก ซึ่ง วิธีที่ดีที่สุด คือ การนำแนวข้อสอบเก่าๆ มาทำ เพื่อให้รู้ทางว่าควรทำอย่างไร แม้กระทั่งข้อสอบเอนทรานซ์ ก็สามารถนำมาทำ เพื่อทดลองเป็นแนวทางได้เช่นกัน ในส่วนข้อสอบ ที่น้องๆ กลัวมากที่สุด ก็คงเป็น Error Check แนะนำว่า ให้ดู part of speech และ function ของแต่ลคำ หรือ ของแต่ละไวยากรณ์มาให้ดี ก็จะช่วยน้องได้มากเลยทีเดียว นอกจากนี้ ข้อสอบที่น่ากลัวไม่แพ้กันก็คือ Cloze Test โปรดระมัดระวังและรอบคอบในการทำ ให้มากถึงมากที่สุดนะครับ ขอย้ำว่าอ่านคำสั่งดีๆ ระวังจะโดนหลอกไม่รู้ตัว!!
  • วิชาภาษาไทย เน้น ไวยากรณ์ และทักษะการอ่านจับใจความ มากกว่าวรรณคดี วรรณคดีจะออกพวกเรื่องใหญ่ๆ เช่นขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ พวกนี้หละครับ และก็ออกเรื่องกลอน เยอะมาก และยากด้วย ดังนั้นน้องควรทำการบ้านมาดีๆ แนะนำการทำข้อสอบเก่าเช่นกัน
  • สังคมศึกษา เป็นวิชาที่ออกกว้างที่สุด ซึ่งมีทั้งที่เป็นความรู้รอบตัว และความรู้ในตำรา ขอให้น้องๆ ทบทวนไปเรื่อยๆ ดีกว่า และข้อสอบเก่า ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด สำหรับการเตรียมตัวสอบวิชาสังคม เพราะด้วยการที่คำถาม ถามออกกว้าง และ สามารถนำเรื่องใดมาถามก็ได้ จึงขอให้น้องศึกษาข่าว และเหตุการณ์ในรอบปี จับประเด็นสำคัญ และนำมาเปรียบเทียบกับความรู้ในวิชาสังคมให้ดี และขอแนะนำอีกว่า ไม่ต้องคิดที่จะไปทุ่มกับวิชานี้เลย เพราะเนื้อหามันกว้างๆๆๆๆๆๆจริงๆ
การเรียนในสายของเรา
เนื่องจากเป็นแผนกภาษา์ ดังนั้น วิชาส่วนมากก็จะเป็นทางภาษาโดยเราจะเรียน ภาษาฝรั่งเศส 3 หน่วยกิต[O_o] และภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต โดยภาษาอังกฤษแบ่งเป็น ภาษาอังกฤษหลัก 3 คาบ ภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน (Reading) 2 คาบ และ ภาษาอังกฤษฟัง-พูด 1 คาบ ส่วน ม.5 ภาษาฝรั่งเศส จะเรียน 6 คาบ แต่จะแบ่งเป็น ภาษาฝรั่งเศสแบบรีดดิ้ง 4 คาบ และ แกรมม่า อีก 2 คาบ ครับ ส่วนรายวิชาอื่นๆ ก็จะมี
  • วิทยาศาสตร์ ม.4-ม.5 เรียนสัปดาห์ละ 2 คาบ จะเรียนทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ชิวๆน้อง ตกมาหลายรอบแระ - -* ที่ต้องเรียนเพราะเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับการสอบ o-net ^^(รุ่นน้องปี 54 มันจะเปลี่ยนใหม่อีกหรือเปล่า ไม่รู้แต่รุ่นพี่โดน GAT-PAT T_T เศร้าใจระบบการศึกษาไทย) และชั้น ม.6 จะมีเพิ่มสาระ "โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ" เพิ่มขึ้นมาด้วย เป็นวิชาที่มันส์มาก สำหรับเด็กสายศิลป์ทุกๆ คน สรุปว่า ตั้งแต่ ม.4-6 เนี่ย เราก็ยังทิ้งวิทย์ไม่ได้นะครับ... ตั้งใจเรียนดีๆ เพราะอย่างน้อย มันก็จะเป็นความรู้ ประดับบารมีเราเอาไว้ จริงๆ นะ
  • คณิตศาสตร์ ม.4-ม.5 เรียนสัปดาห์ละคาบ แต่เนื้อหาก็จะแน่นมาก แต่ไม่ต้องห่วงครับ มันเป็นเพียงแค่พื้นฐาน (พี่ก็ตกมันทุกครั้ง - -*) แต่พื้นก็พื้นเหอะ มันก็ยากสำหรับเด็กศิลป์อยู่ดี -*- พอขึ้น ม.6 ก็จะเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2 คาบ T_T (คาบเดียวก็จะแย่แล้ว)
    เนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.4 เทอมที่ 1 : เซต และ เทอมที่ 2 : การให้เหตุผล ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น
    เนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.5 เทอมที่ 1 : เลขยกกำลัง และ ตรีโกณมิติ และ เทอมที่ 2 : ลำดับและอนุกรม
    เนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.6 เทอมที่ 1 : ความน่าจะเป็น และ เทอมที่ 2 : สถิติ
  • วิชาเสริมของสาระภาษาไทย สำหรับ ม.4 จะเป็นวิชา ประวัติวรรณคดี เรียนเกี่ยวกับประวัติวรรณคดีทั่วๆ ไปครับ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว สนุกเหมือนกันครับ ข้อสอบโหดด้วยครับและอาจจะเหนื่อยหน่อย สำหรับคนที่ไม่ชอบอ่าน และ สำหรับ ม.5 นั่นคือ รายวิชา วรรณคดีมรดก เป็นรายวิชา ที่ศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดี เรื่องต่างๆ ซึ่งเทอมๆ นึง จะเรียนไม่กี่เรื่อง แต่จะเจาะลึกที่เนื้อหา และรายละเอียดอย่างมาก ซึ่งน้องๆ ต้องพยายาม ในการจับใจความสำคัญของเรื่อง และรู้ว่า คุณค่าทางวรรณศิลป์ของวรรณคดีแต่ละเรื่อง คืออะไร แล้วมีอิทธิพล หรือ ให้ข้อคิด อย่างไร ต่อตัวน้องเอง และสังคมไทยบ้าง และ ในชั้นโตสุด ม.6 น้องจะได้เรียนวิชา 2 วิชา คือ หลักภาษา เป็นการเจาะลึกไวยากรณ์ในภาษาไทย และอีกวิชา คือ การเขียน ซึ่ง พี่อยากให้น้องมาสัมผัสความสยองเองในระดับชั้น ม.6 ฮึฮึ (พี่เองก็ยังไม่รู้ว่าม.5 จะรอดหรือเปล่า)
  • วิชาของหมวดสังคม แน่นอนว่า เราคงไม่สามารถหลีกหนีจากวิชาที่เป็นตัวหล่อหลอม ให้น้องรู้จักหน้าที่ของมนุษยชาติ อย่าง สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้อย่างแน่นอน ซึ่งรายละเอียดของแต่ละเทอม ที่จะเรียน ก็มีดังต่อไปนี้
    ม.4 เทอม 1 : มนุษย์กับศาสนา และ รัฐศาสตร์ (+ พระพุทธศาสนา 1)
    ม.4 เทอม 2 : นิติศาสตร์ มนุษย์กับกฎหมายในชีวิตประจำวัน (+ พระุพุทธศาสนา 2)
    ม.5 เทอม 1 : ภูมิศาสตร์ (+ พระพุทธศาสนา 3) และ ภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว อีกหนึ่งวิชา
    ม.5 เทอม 2 : เศรษฐศาสตร์ (+ พระพุทธศาสนา 4)
    ม.6 เทอม 1 และ 2 : ประวัติศาสตร์ชาติไทย และ ประวัติศาสตร์สากล
สำหรับ ม.4 ภาคเรียนแรก วิชาที่แปลกๆ สำหรับน้องก็จะมี
  • คอมพิวเตอร์ (ไม่แปลกเท่าไหร่นะ)
  • พรรณพืชกับคุณภาพชีวิต น้องก็จะเรียนเกี่ยวกับพืชพรรณธรรมชาติโดยทั่วๆ ไปน่ะครับ และเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์ สนุกดีนะ
  • ดนตรี น้องก็ต้องเจอทั้งดนตรีไทย และดนตรีสากล ส่วนมากก็สนุกๆ อีกนั่นแหละครับ ดนตรีไทย น้องก็จะลงมือบรรเลง ระนาด หรือ ฆ้องวงด้วยตนเองเลย ไม่ต้องห่วง อาจารย์ท่านจะสอนพื้นฐานให้ก่อนครับ ดนตรีสากล ก็ไม่มีอะไรครับ ไม่ต้องลงมือเล่นเครื่องดนตรี แต่ก็จะเน้นการแสดงออกในความสามารถด้านดนตรีมากกว่าครับ
  • รายวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย สังคม พระพุทธฯ สุขศึกษา ก็ไม่มีอะไรแนะนำ
  • สารนิเทศ ห้องสมุด!! น้องจะได้เรียนวิธีการทำรายงาน และอะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดแน่นอน และน้องจะรู้ว่า รายงานหนึ่งเล่ม มีอะไรที่น่ารู้อีกเยอะ...
ม.4 ภาคเรียนที่ 2 รายวิชาที่เพิ่มเติมมา ก็จะมีดังนี้
  • ออกแบบเทคโนโลยี ก็คือคอมพิวเตอร์แหละครับ แต่น้องจะมีต่อวงจรไฟฟ้า ออกแบบสามมิติโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวหลักครับ [ใช้ 3DsMax ครับ]
  • ศิลปะ วาดรูปครับ วาดรูป!! เส้น สี และโปสเตอร์ สนุกเหมือนกัน แต่อาจจะงานเยอะหน่อย
  • การดูแลสุขภาพวัยรุ่น (หรือ สาธารณสุข หรือ สาธาฯ) ก็จะเรียนเกี่ยวกับ วัยรุ่นทั่วๆ ไป การใช้ยา สารเสพติด เพศศึกษาในวัยรุ่น และเรื่องเอดส์ มีการเรียนการกู้ชีพ cpr ด้วยนะ เป็นวิชาที่สนุก (แต่พี่เรียนไปหลับไป เพราะว่าเรียนหลังทานข้าวเสร็จเรียนไป 2 ชม.รวด)และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ใจดีมากๆ ด้วยล่ะ
ม.5 ภาคเรียนที่ 1 รายวิชาแปลกๆที่โผล่มา ก็มี...
  • ภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว . . . เห็นพี่ๆที่เรียนบอกว่า "ยาก"
  • พื้นฐานการดำรงชีวิต เป็นวิชาที่ว่าด้วยพื้นฐาน "การดำรงชีวิต" นั่นแหละ เรียนเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป ว่า เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร และ การประดิษฐ์ประดอย สิ่งต่างๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา คิดซะว่า น้องได้กลับมาเรียน กพอ. อีกครั้งนึงละกัน
  • คอมพิวเตอร์ประยุกต์ อีกแล้ว... (นี่ก็เรียนเกี่ยวกับโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป แต่ว่า เน้นที่ การทำเว็บไซต์ ครับ) [การทำเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ชิวมากสำหรับพี่ 555]
ม.5 ภาคเรียนที่ 2 การผลิตและการบริหารจัดการ ปลูกผัก เลี้ยงปลา และรู้จักการทำโครงงานอย่างมีระบบ 55+
ม.6 ทั้งสองภาคเรียน สารนิเทศ 2-3 มันกลับมาแล้วครับ มาพร้อมกับ การทำรายงาน ที่ "โหด มันส์ ฮา" มากกว่าเดิม
วิชาพละ และ สุขศึกษา กีฬาที่เรียนใน รร.เตรียม ช่วง
ม.4 ก็คือ บาสเกตบอล และ แอโรบิค ครับ
ม.5 ก็จะมี วอลเลย์บอล และ เทนนิส
ส่วน ม.6 จะเป็นลีลาศ และ แบดมินตัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dektriam.net/Francais/ นะคะ:D