วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

about arts-français :3

ศิลป์-ฝรั่งเศส

วิดิโอแนะนำสายศิลป์-ฝรั่งเศสค่ะ :D 

แน่นอนครับ พี่รู้ว่าน้องๆเข้ามาอ่านนี้เพื่อหาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายภาษา-ฝรั่งเศสใช่ไหมหละครับ วันนี้พี่เองก็จะแนะนำสายที่มีประวัติอันเก่าแก่ที่พวกพี่ภาคภูมิใจให้ น้องๆได้ชมกันนะครับ
.:: พี่ๆขอแนะนำสายของเราก่อน สายนี้มีอายุทั้งหมด 76 ปี งง ใช่ไหมหละครับ โรงเรียนเพิ่งที่จะ 75 ปี แต่ทำไมถึงมีอายุ 76 ปี คือ สายนี้ได้เปิดสอนก่อนการก่อตั้งโรงเรียนประมาณ 6 เดือนได้นะครับ (น่าจะ6เดือนนะ ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ก่อนก่อตั้งโรงเรียนแน่ๆ) สายนี้จึงเป็นสายที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน
.:: สีประจำสาย - จนถึงบัดนี้พี่เองก็ยังไม่รู้ว่าสีอะไรกันแน่ บ้างก็บอกบานเย็น บ้างก็ยึดตามสีธงชาติ ต้องรอรุ่นพี่ที่จบไปมาบอกนะครับเดี๋ยวถ้ารู้แล้วจะมาแก้ใหม่ครับ-
.:: สายนี้ก็เป็นสายคอนแวนต์เช่นกันเหมือนๆกับสายศิลป์-ภาษาอื่นๆ เพราะผู้ชายส่วนใหญ่้ จะไปสอบสายวิทย์กันหมด สายของเรามีผู้ชายเฉลี่ยห้องละ 9 คนครับ อาจจะเยอะกว่าบางสายอ่ะครับ เรื่องกลายพันธุ์ก็อาจจะกลายตอนม.5 นะครับ (บางคนนะอาจจะเพิ่งค้นพบตัวเอง 555)
.:: สายของเรา ณ ปัจจุบัน(2552) ม.4 มีทั้งหมด 2 ห้องครึ่ง [ห้องนึงเรียนรวมกับสเปน 25 คนไง ห้องนี้ก็เริ่ดมาก ห้องเดียว 2 สาย]
.:: สายของเราดังเรื่องกิจกรรม !!
การสอบเข้า
สำหรับสายภาษานั้น จะสอบเหมือนกันหมดครับ โดยจะแบ่งการสอบ เป็น 2 ฉบับคือ
ฉบับที่ 1 : ภาษาไทย 25 ข้อ - สังคม 25 ข้อ และ ภาษาอังกฤษ 50 ข้อ
ฉบับที่ 2 : ภาษาไทย 50 ข้อ และ ภาษาอังกฤษ 50 ข้อ
นั่นหมายความว่า มีจำนวนข้อสอบ ภาษาอังกฤษ มากที่สุดคือ 100 ข้อ รองลงมา คือ ภาษาไทย 75 ข้อ และ สังคม 25 ข้อ


การแนะนำการอ่าน
น้องๆควรเริ่มเตรียมตัว อ่านหนังสือกันตั้งแต่ช่วงปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 นะครับ อย่างช้าสุดในการเตรียมตัวก็ไม่น่าจะ 1 เดือนก่อนสอบนะครับ
  • สำหรับวิชา ภาษาอังกฤษ ในส่วนฉบับที่ 1 จะเน้นไวยากรณ์ แกรมม่า และศัพท์ เป็นอย่างมาก และฉบับที่ 2 จะเป็น Reading เสียส่วนมาก ซึ่ง วิธีที่ดีที่สุด คือ การนำแนวข้อสอบเก่าๆ มาทำ เพื่อให้รู้ทางว่าควรทำอย่างไร แม้กระทั่งข้อสอบเอนทรานซ์ ก็สามารถนำมาทำ เพื่อทดลองเป็นแนวทางได้เช่นกัน ในส่วนข้อสอบ ที่น้องๆ กลัวมากที่สุด ก็คงเป็น Error Check แนะนำว่า ให้ดู part of speech และ function ของแต่ลคำ หรือ ของแต่ละไวยากรณ์มาให้ดี ก็จะช่วยน้องได้มากเลยทีเดียว นอกจากนี้ ข้อสอบที่น่ากลัวไม่แพ้กันก็คือ Cloze Test โปรดระมัดระวังและรอบคอบในการทำ ให้มากถึงมากที่สุดนะครับ ขอย้ำว่าอ่านคำสั่งดีๆ ระวังจะโดนหลอกไม่รู้ตัว!!
  • วิชาภาษาไทย เน้น ไวยากรณ์ และทักษะการอ่านจับใจความ มากกว่าวรรณคดี วรรณคดีจะออกพวกเรื่องใหญ่ๆ เช่นขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ พวกนี้หละครับ และก็ออกเรื่องกลอน เยอะมาก และยากด้วย ดังนั้นน้องควรทำการบ้านมาดีๆ แนะนำการทำข้อสอบเก่าเช่นกัน
  • สังคมศึกษา เป็นวิชาที่ออกกว้างที่สุด ซึ่งมีทั้งที่เป็นความรู้รอบตัว และความรู้ในตำรา ขอให้น้องๆ ทบทวนไปเรื่อยๆ ดีกว่า และข้อสอบเก่า ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด สำหรับการเตรียมตัวสอบวิชาสังคม เพราะด้วยการที่คำถาม ถามออกกว้าง และ สามารถนำเรื่องใดมาถามก็ได้ จึงขอให้น้องศึกษาข่าว และเหตุการณ์ในรอบปี จับประเด็นสำคัญ และนำมาเปรียบเทียบกับความรู้ในวิชาสังคมให้ดี และขอแนะนำอีกว่า ไม่ต้องคิดที่จะไปทุ่มกับวิชานี้เลย เพราะเนื้อหามันกว้างๆๆๆๆๆๆจริงๆ
การเรียนในสายของเรา
เนื่องจากเป็นแผนกภาษา์ ดังนั้น วิชาส่วนมากก็จะเป็นทางภาษาโดยเราจะเรียน ภาษาฝรั่งเศส 3 หน่วยกิต[O_o] และภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต โดยภาษาอังกฤษแบ่งเป็น ภาษาอังกฤษหลัก 3 คาบ ภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน (Reading) 2 คาบ และ ภาษาอังกฤษฟัง-พูด 1 คาบ ส่วน ม.5 ภาษาฝรั่งเศส จะเรียน 6 คาบ แต่จะแบ่งเป็น ภาษาฝรั่งเศสแบบรีดดิ้ง 4 คาบ และ แกรมม่า อีก 2 คาบ ครับ ส่วนรายวิชาอื่นๆ ก็จะมี
  • วิทยาศาสตร์ ม.4-ม.5 เรียนสัปดาห์ละ 2 คาบ จะเรียนทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ชิวๆน้อง ตกมาหลายรอบแระ - -* ที่ต้องเรียนเพราะเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับการสอบ o-net ^^(รุ่นน้องปี 54 มันจะเปลี่ยนใหม่อีกหรือเปล่า ไม่รู้แต่รุ่นพี่โดน GAT-PAT T_T เศร้าใจระบบการศึกษาไทย) และชั้น ม.6 จะมีเพิ่มสาระ "โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ" เพิ่มขึ้นมาด้วย เป็นวิชาที่มันส์มาก สำหรับเด็กสายศิลป์ทุกๆ คน สรุปว่า ตั้งแต่ ม.4-6 เนี่ย เราก็ยังทิ้งวิทย์ไม่ได้นะครับ... ตั้งใจเรียนดีๆ เพราะอย่างน้อย มันก็จะเป็นความรู้ ประดับบารมีเราเอาไว้ จริงๆ นะ
  • คณิตศาสตร์ ม.4-ม.5 เรียนสัปดาห์ละคาบ แต่เนื้อหาก็จะแน่นมาก แต่ไม่ต้องห่วงครับ มันเป็นเพียงแค่พื้นฐาน (พี่ก็ตกมันทุกครั้ง - -*) แต่พื้นก็พื้นเหอะ มันก็ยากสำหรับเด็กศิลป์อยู่ดี -*- พอขึ้น ม.6 ก็จะเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2 คาบ T_T (คาบเดียวก็จะแย่แล้ว)
    เนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.4 เทอมที่ 1 : เซต และ เทอมที่ 2 : การให้เหตุผล ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น
    เนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.5 เทอมที่ 1 : เลขยกกำลัง และ ตรีโกณมิติ และ เทอมที่ 2 : ลำดับและอนุกรม
    เนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.6 เทอมที่ 1 : ความน่าจะเป็น และ เทอมที่ 2 : สถิติ
  • วิชาเสริมของสาระภาษาไทย สำหรับ ม.4 จะเป็นวิชา ประวัติวรรณคดี เรียนเกี่ยวกับประวัติวรรณคดีทั่วๆ ไปครับ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว สนุกเหมือนกันครับ ข้อสอบโหดด้วยครับและอาจจะเหนื่อยหน่อย สำหรับคนที่ไม่ชอบอ่าน และ สำหรับ ม.5 นั่นคือ รายวิชา วรรณคดีมรดก เป็นรายวิชา ที่ศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดี เรื่องต่างๆ ซึ่งเทอมๆ นึง จะเรียนไม่กี่เรื่อง แต่จะเจาะลึกที่เนื้อหา และรายละเอียดอย่างมาก ซึ่งน้องๆ ต้องพยายาม ในการจับใจความสำคัญของเรื่อง และรู้ว่า คุณค่าทางวรรณศิลป์ของวรรณคดีแต่ละเรื่อง คืออะไร แล้วมีอิทธิพล หรือ ให้ข้อคิด อย่างไร ต่อตัวน้องเอง และสังคมไทยบ้าง และ ในชั้นโตสุด ม.6 น้องจะได้เรียนวิชา 2 วิชา คือ หลักภาษา เป็นการเจาะลึกไวยากรณ์ในภาษาไทย และอีกวิชา คือ การเขียน ซึ่ง พี่อยากให้น้องมาสัมผัสความสยองเองในระดับชั้น ม.6 ฮึฮึ (พี่เองก็ยังไม่รู้ว่าม.5 จะรอดหรือเปล่า)
  • วิชาของหมวดสังคม แน่นอนว่า เราคงไม่สามารถหลีกหนีจากวิชาที่เป็นตัวหล่อหลอม ให้น้องรู้จักหน้าที่ของมนุษยชาติ อย่าง สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้อย่างแน่นอน ซึ่งรายละเอียดของแต่ละเทอม ที่จะเรียน ก็มีดังต่อไปนี้
    ม.4 เทอม 1 : มนุษย์กับศาสนา และ รัฐศาสตร์ (+ พระพุทธศาสนา 1)
    ม.4 เทอม 2 : นิติศาสตร์ มนุษย์กับกฎหมายในชีวิตประจำวัน (+ พระุพุทธศาสนา 2)
    ม.5 เทอม 1 : ภูมิศาสตร์ (+ พระพุทธศาสนา 3) และ ภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว อีกหนึ่งวิชา
    ม.5 เทอม 2 : เศรษฐศาสตร์ (+ พระพุทธศาสนา 4)
    ม.6 เทอม 1 และ 2 : ประวัติศาสตร์ชาติไทย และ ประวัติศาสตร์สากล
สำหรับ ม.4 ภาคเรียนแรก วิชาที่แปลกๆ สำหรับน้องก็จะมี
  • คอมพิวเตอร์ (ไม่แปลกเท่าไหร่นะ)
  • พรรณพืชกับคุณภาพชีวิต น้องก็จะเรียนเกี่ยวกับพืชพรรณธรรมชาติโดยทั่วๆ ไปน่ะครับ และเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์ สนุกดีนะ
  • ดนตรี น้องก็ต้องเจอทั้งดนตรีไทย และดนตรีสากล ส่วนมากก็สนุกๆ อีกนั่นแหละครับ ดนตรีไทย น้องก็จะลงมือบรรเลง ระนาด หรือ ฆ้องวงด้วยตนเองเลย ไม่ต้องห่วง อาจารย์ท่านจะสอนพื้นฐานให้ก่อนครับ ดนตรีสากล ก็ไม่มีอะไรครับ ไม่ต้องลงมือเล่นเครื่องดนตรี แต่ก็จะเน้นการแสดงออกในความสามารถด้านดนตรีมากกว่าครับ
  • รายวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย สังคม พระพุทธฯ สุขศึกษา ก็ไม่มีอะไรแนะนำ
  • สารนิเทศ ห้องสมุด!! น้องจะได้เรียนวิธีการทำรายงาน และอะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดแน่นอน และน้องจะรู้ว่า รายงานหนึ่งเล่ม มีอะไรที่น่ารู้อีกเยอะ...
ม.4 ภาคเรียนที่ 2 รายวิชาที่เพิ่มเติมมา ก็จะมีดังนี้
  • ออกแบบเทคโนโลยี ก็คือคอมพิวเตอร์แหละครับ แต่น้องจะมีต่อวงจรไฟฟ้า ออกแบบสามมิติโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวหลักครับ [ใช้ 3DsMax ครับ]
  • ศิลปะ วาดรูปครับ วาดรูป!! เส้น สี และโปสเตอร์ สนุกเหมือนกัน แต่อาจจะงานเยอะหน่อย
  • การดูแลสุขภาพวัยรุ่น (หรือ สาธารณสุข หรือ สาธาฯ) ก็จะเรียนเกี่ยวกับ วัยรุ่นทั่วๆ ไป การใช้ยา สารเสพติด เพศศึกษาในวัยรุ่น และเรื่องเอดส์ มีการเรียนการกู้ชีพ cpr ด้วยนะ เป็นวิชาที่สนุก (แต่พี่เรียนไปหลับไป เพราะว่าเรียนหลังทานข้าวเสร็จเรียนไป 2 ชม.รวด)และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ใจดีมากๆ ด้วยล่ะ
ม.5 ภาคเรียนที่ 1 รายวิชาแปลกๆที่โผล่มา ก็มี...
  • ภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว . . . เห็นพี่ๆที่เรียนบอกว่า "ยาก"
  • พื้นฐานการดำรงชีวิต เป็นวิชาที่ว่าด้วยพื้นฐาน "การดำรงชีวิต" นั่นแหละ เรียนเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป ว่า เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร และ การประดิษฐ์ประดอย สิ่งต่างๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา คิดซะว่า น้องได้กลับมาเรียน กพอ. อีกครั้งนึงละกัน
  • คอมพิวเตอร์ประยุกต์ อีกแล้ว... (นี่ก็เรียนเกี่ยวกับโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป แต่ว่า เน้นที่ การทำเว็บไซต์ ครับ) [การทำเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ชิวมากสำหรับพี่ 555]
ม.5 ภาคเรียนที่ 2 การผลิตและการบริหารจัดการ ปลูกผัก เลี้ยงปลา และรู้จักการทำโครงงานอย่างมีระบบ 55+
ม.6 ทั้งสองภาคเรียน สารนิเทศ 2-3 มันกลับมาแล้วครับ มาพร้อมกับ การทำรายงาน ที่ "โหด มันส์ ฮา" มากกว่าเดิม
วิชาพละ และ สุขศึกษา กีฬาที่เรียนใน รร.เตรียม ช่วง
ม.4 ก็คือ บาสเกตบอล และ แอโรบิค ครับ
ม.5 ก็จะมี วอลเลย์บอล และ เทนนิส
ส่วน ม.6 จะเป็นลีลาศ และ แบดมินตัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dektriam.net/Francais/ นะคะ:D 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น